เกษียณกับค่าชดเชย

เกษียณกับค่าชดเชย เรื่องสำคัญการจ้างงานยุคดิจิตอล

ในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้ แต่ละบริษัทก็เริ่มปรับตัว ด้วยการควบคุมและลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างเงินเดือน ซึ่งปรับลดไม่ได้ง่าย ๆ ทำให้บริษัทต่าง ๆ ออกมาตรการที่เรียกกันว่า โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ( Early Retirement Programs ) เนื่องจากพนักงานที่มีอายุมาก หรืออยู่ทำงานด้วยกันมานาน เงินเดือนก็มักจะสูงตามไปด้วย หากได้บริหารจัดการให้เกษียณก่อนกำหนด ย่อมทำให้บริษัทตัดลดค่าใช้จ่ายไปได้มาก และในช่วงถัดไปเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว ก็ค่อยรับพนักงานใหม่ในตำแหน่งงานเดิม บริษัทยังสามารถจ้างในอัตราเงินเดือนน้อยกว่าด้วย การเกษียณกับค่าชดเชย จึงเป็นเรื่องที่พนักงานต้องศึกษาและวางแผนการทำงานไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ

พนักงานกลุ่มแรก ที่ทุกบริษัทพิจารณาว่าเหมาะสม ควรคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเกษียณก่อนกำหนด จึงเป็นผู้ที่มีอายุตัวใกล้เกษียณใน 3-5 ปี นั้นเอง

สำหรับลูกจ้าง ผู้ที่ได้รับเกียรติให้เกษียณก่อนกำหนด มักมีคำถามว่า

1. ตนเองจะได้รับค่าชดเชยด้วยหรือไม่?
2. ได้เงินค่าชดเชยแล้ว จะได้เงินเกษียณอายุด้วยหรือไม่?

คำตอบข้อแรก ตอบง่ายๆ ก็คือ…
ผู้ที่ถูกเกษียณ ต้องได้ค่าชดเชยทุกท่านครับ
กฎหมายแรงงานได้กำหนดให้การเกษียณอายุ ที่บริษัทได้กำหนดอายุเกษียณไว้ในระเบียบข้อบังคับ ถือเป็นการเลิกจ้าง เมื่อบริษัทให้ลูกจ้างเกษียณอายุก็ถือว่าบริษัทเลิกจ้างลูกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชย

มันจึงเป็นที่มาว่า ทุกบริษัทที่จัดโครงการเกษียณก่อนกำหนด กำหนดเงินช่วยเหลือตามอายุงานให้ตรงกับค่าชดเชยไงครับ (คลิ๊กดูอัตราค่าชดเชย) และมักจะบวกเพิ่มอีก 1 หรือ 2 เดือนเพื่อจูงใจให้พนักงานสมัครใจเกษียณก่อนกำหนด

คำตอบข้อสอง ตอบยากและอาจไม่ถูกใจลูกจ้างเพราะ…
เงินเกษียณ ซึ่งลูกจ้างหมายถึงเงินบำเหน็จหรือบำนาญ อันเป็นเงินพิเศษ ที่ควรได้เพราะอุตสาห์อยู่ทำงานจนเกษียณ อาจไม่ได้รับเพิ่ม ก็เมื่อบริษัทจ่ายค่าชดเชยตามข้อแรกไปแล้ว บริษัทจึงถือว่ามันเป็นเงินเกษียณแล้วไงครับ

ยกเว้นแต่ว่า บริษัท มีระเบียบข้อบังคับที่ได้กำหนดเพิ่มพิเศษไว้ หรือพูดง่าย ๆ ว่าบริษัทมีสวัสดิการเพิ่มมากกว่าที่กฎหมายกำหนดครับ เช่น ถ้าบริษัทมีระเบียบว่า
“พนักงานเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี และมีวิธีคำนวณเงินบำเหน็จตามประกาศที่บริษัทกำหนด พร้อมข้อความสุดท้ายว่า ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าเงินค่าชดเชย บริษัทจะจ่ายเงินบำเหน็จให้เท่ากับเงินค่าชดเชย แต่ถ้าเงินบำเหน็จสูงกว่าให้จ่ายเงินบำเหน็จที่คำนวณได้นั้น” ในกรณีนี้ถือว่าบริษัท(นายจ้าง) ได้จ่ายค่าชดเชยแล้วครับ แม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จก็ตาม [คำพิพากษาฎีกา 2526-2527/2524] และการเกษียณถือเป็นการเลิกจ้าง [คำพิพากษาฎีกาที่ 577/2536]

ท่านจะได้เบิ้ล คือได้เงินค่าชดเชยและได้ทั้งเงินเกษียณ ก็ต่อเมื่อเงินเกษียณที่บริษัทกำหนดไว้ในระเบียบนั้น มีวัตถุประสงค์ไม่ตรงกับค่าชดเชยครับ ตัวอย่างเช่น ในระเบียบเขียนว่า
“พนักงานที่มีอายุงานกับบริษัทตั้งแต่ 5 ปี หากตาย ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง มีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีอายุงาน”
ในกรณีนี้ วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แม้จะลาออกเองก็จ่ายให้ และมีหลักเกณฑ์ไม่เหมือนกับการคำนวณจ่ายค่าชดเชยเสียแล้ว ท่านก็ต้องได้ค่าชดเชยพร้อมทั้งได้เงินบำเหน็จในเงื่อนไขนี้แยกต่างหาก [คำพิพากษาฎีกา 2635/2524]

บริษัทที่มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและท่านสมัครเป็นสมาชิก ถ้าท่านถูกเกษียณก่อนกำหนด ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากกองทุนฯ และบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยแยกต่างหากให้กับท่านอีกก้อนหนึ่งเช่นกัน

กฎหมายแรงงาน (Labor law) คุ้มครองลูกจ้างครับ

admin

Spread the love

Related Posts

วันหยุดประจำปี

วันหยุดประจำปีหรือวันหยุดสำคัญถ้าบริษัทไม่หยุดผิดไหม

วันหยุดประจำปีหรือที่เรียกกันว่าวันหยุดนักขัตฤกษ์ เป็นวันที่พนักงานรอคอย โดยเฉพาะถ้าใครทำงานสัปดาห์ละ 6 วันหรือเป็นลูกจ้างรายวันที่ได้เงินเฉพาะวันที่มาทำงาน เพราะเป็นวันหยุดที่ได้รับเงินค่าจ้าง วันหยุดประจำปีจึงเป็นเรื่องสำคัญของพนักงาน การที่วันหยุดประจำปีหรือวันหยุดถ้าสำคัญบริษัทไม่หยุดผิดไหม HR24hrs.com มีเรื่องจริงมาเล่าให้ฟังกันครับ ผมเคยได้ยินเจ้าของธุรกิจท่านหนึ่งบ่นว่า ทำไมวันหยุดมันเยอะเหลือเกินปี ๆ นึง หยุดเสาร์อาทิตย์ก็

HR 4.0 (5) AI – หุ่นยนต์กับการงานในวันนี้

เราทุกคนย่อมมีจุดเปลี่ยนแปลงในชีวิต เพียงแค่ว่าเราสนใจถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงในอดีต มันค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลากันพอควร แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเร็วแบบนับวันนับชั่วโมงกันแล้ว เหมือนเรื่องของบาปของกรรม ที่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องรอผลกันในชาติหน้า กรรมยุค 4.0 มันเป็นกรรมติดจรวดครับ ทำอะไรที่ไม่ดีไว้ในวันนี้ อีกปุ๊ปอีกแป๊ปหรือวันรุ่งขึ้นก็อาจรับผลกันทันที ดูอย่างการใช้โทรศัพท์มือถือยุคนี้ แค่กดถ่ายวีดีโอหรืออัดเสียงแล้วโพสลงโซเชียล

HR 4.0 (4) ไทยแลนต์ 4.0

ได้อ่านบทความของ "ดร. สมเกียรต อ่อนวิมล" ใน Aday กล่าวถึงประเทศมาเลเซียไว้ดังนี้ นายกมหาเธร์ มูฮัมหมัด มีวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้า มองไปเลย 20 ปี เริ่มตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง โดยมองว่าปี

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

11 − three =